Month: March 2020

ไนโตรเจนเหลว

ไนโตรเจนเหลว

ไนโตรเจนเหลว ไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่พบในบรรยากาศ โดยมีอยู่ประมาณ 78% โดยปริมาตรของอากาศที่เราหายใจ ก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซที่เป็นกลางและไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และถือเป็นก๊าซเฉื่อย สามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมหลายชนิด เพื่อใช้ป้องกันปฏิกริยาทางเคมีและถนอมรักษาผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบหรือตัวอย่างทางชีวภาพ โดยไนโตรเจนในสถานะที่เป็นของเหลว จะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -196 องศาเซลเซียส จึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำไปรักษา ตัวอย่างเนื้อเยื่อ น้ำเชื้อสิ่งมีชีวิต หรือใช้ในการช่วยลดอุณหภูมิ การนำไปใช้งาน ทางการแพทย์ ไนโตรเจนเหลว: ไนโตรเจนเป็นก๊าซเหลวที่ใช้มากที่สุดในการแช่เย็นหรือแช่แข็งหรือการลดอุณภูมิ เช่น การแช่แข็งขื้อเยื่อและเซลล์ และเชื้ออสุจิ อาหาร การแช่แข็งผลิตภัณฑ์อาหาร และคนที่ชอบติดตามการเคลื่อนไหวในวงการอาหาร ก็คงเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า Molecular Gastronomy ในภาษาไทยเราเรียกกันว่าอาหารโมเลกุล เป็นอาหารหน้าตาแปลกๆ เวลาดูเชพทำก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมือเหมือนกับการอยู่ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ก็ไม่ปาน ส่วนผสมก็จะมีชื่อวิทยาศาสตร์อย่าง ไนโตรเจนเหลว เลซิติน ซึ่งฟังแล้วก็ไม่นึกว่ากำลังทำอาหารอยู่ แต่เป็นอาหารที่กินได้จริงๆยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีมที่ทำโดยใช้ไนโตรเจนเหลว เนื้อสัตว์ทีื่ทำให้สุกด้วยความร้อนต่ำๆ หรือเจลรูปแบบเม็ดที่ทำจากน้ำผลไม้เมื่อรับประทานก็แทบจะละลายในปากได้เลย หรืออาหารจานเส้นที่ทำจากเนื้อสัตว์โดยไม่มีส่วนผสมของแป้งใดๆ…. แม้ว่าหลายคนจะสงสัยว่าอาหารพวกนี้กินได้หรือไม่ แม้ว่ากรรมวิธีในการทำและปรุงนั้น เหมือนจะเป็นแนวการทดลองวิทยาศาสตร์ไปบ้าง แต่หลายอย่างที่เห็นก็เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมทั่วไปอยู่แล้ว