บทความ

น้ำแข็งแห้ง ดรายไอซ์ DRY ICE

น้ำแข็งแห้ง ดรายไอซ์ DRY ICE

น้ำแข็งแห้ง น้ำแข็งแห้งคือคาร์บอนไดออกไซด์เยือกแข็งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศโลกของเรา เป็นก๊าซที่เราหายใจออกระหว่างการหายใจและก๊าซที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ยังเป็นก๊าซชนิดเดียวกันที่เติมลงในน้ำเพื่อทำน้ำโซดา ก๊าซนี้มักถูกจับระหว่างกระบวนการทางอุตสาหกรรมและนำไปรีไซเคิลเพื่อทำน้ำแข็งแห้ง น้ำแข็งแห้งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการแช่แข็งและการเก็บรักษาสิ่งต่าง ๆ เป็นน้ำแข็งเนื่องจากอุณหภูมิที่เย็นจัด: -109.3 ° F หรือ -78.5 ° C น้ำแข็งแห้งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถแช่แข็งได้ง่ายและจัดการได้ง่ายโดยใช้ถุงมือหุ้มฉนวน น้ำแข็งแห้งเปลี่ยนจากของแข็งเป็นก๊าซระเหิดโดยตรงในสภาพบรรยากาศปกติโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของเหลวเปียก จึงได้ชื่อว่าน้ำแข็งแห้ง การนำไปใช้งาน น้ำแข็งแห้งถูกนำมาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน เช่น ในอุตสาหกรรมอาหารประเภทไอศกรีม นม เบเกอรี่ ไส้กรอก และเนื้อสัตว์ เพื่อถนอมอาหารในขั้นตอนการผลิตหรือในการขนส่งหรือเก็บอาหารสำหรับเสิร์ฟบนเครื่องบิน ใช้ในการขนส่งเวชภัณฑ์ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องจักร แบบหล่อหรือแม่พิมพ์ หรือใช้ในการบดเย็นวัสดุสังเคราะห์ที่แตกยาก นอกจากนี้ยังใช้ในการทำหมอก ควัน ในการแสดงต่าง ๆ และอาจใช้ผสมในเครื่องดื่มเพื่อให้เกิดฟองปุด และให้เกิดความเย็น เป็นต้น

ไนโตรเจนเหลว

ไนโตรเจนเหลว

ไนโตรเจนเหลว ไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่พบในบรรยากาศ โดยมีอยู่ประมาณ 78% โดยปริมาตรของอากาศที่เราหายใจ ก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซที่เป็นกลางและไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และถือเป็นก๊าซเฉื่อย สามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมหลายชนิด เพื่อใช้ป้องกันปฏิกริยาทางเคมีและถนอมรักษาผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบหรือตัวอย่างทางชีวภาพ โดยไนโตรเจนในสถานะที่เป็นของเหลว จะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -196 องศาเซลเซียส จึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำไปรักษา ตัวอย่างเนื้อเยื่อ น้ำเชื้อสิ่งมีชีวิต หรือใช้ในการช่วยลดอุณหภูมิ การนำไปใช้งาน ทางการแพทย์ ไนโตรเจนเหลว: ไนโตรเจนเป็นก๊าซเหลวที่ใช้มากที่สุดในการแช่เย็นหรือแช่แข็งหรือการลดอุณภูมิ เช่น การแช่แข็งขื้อเยื่อและเซลล์ และเชื้ออสุจิ อาหาร การแช่แข็งผลิตภัณฑ์อาหาร และคนที่ชอบติดตามการเคลื่อนไหวในวงการอาหาร ก็คงเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำว่า Molecular Gastronomy ในภาษาไทยเราเรียกกันว่าอาหารโมเลกุล เป็นอาหารหน้าตาแปลกๆ เวลาดูเชพทำก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมือเหมือนกับการอยู่ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ก็ไม่ปาน ส่วนผสมก็จะมีชื่อวิทยาศาสตร์อย่าง ไนโตรเจนเหลว เลซิติน ซึ่งฟังแล้วก็ไม่นึกว่ากำลังทำอาหารอยู่ แต่เป็นอาหารที่กินได้จริงๆยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีมที่ทำโดยใช้ไนโตรเจนเหลว เนื้อสัตว์ทีื่ทำให้สุกด้วยความร้อนต่ำๆ หรือเจลรูปแบบเม็ดที่ทำจากน้ำผลไม้เมื่อรับประทานก็แทบจะละลายในปากได้เลย หรืออาหารจานเส้นที่ทำจากเนื้อสัตว์โดยไม่มีส่วนผสมของแป้งใดๆ…. แม้ว่าหลายคนจะสงสัยว่าอาหารพวกนี้กินได้หรือไม่ แม้ว่ากรรมวิธีในการทำและปรุงนั้น เหมือนจะเป็นแนวการทดลองวิทยาศาสตร์ไปบ้าง แต่หลายอย่างที่เห็นก็เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมทั่วไปอยู่แล้ว